วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

ปัญหาเศรษฐกิจ...เวียดนาม ที่ต้องฝ่าฟัน

ปัญหาเศรษฐกิจ...เวียดนาม
เวียดนามกำลังเติบโตแต่มีปัญหาที่ต้องฝ่าฟัน

 

           ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้เวียดนามต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจหลายด้านทั้งเงินเฟ้อสูงและขาดดุลการ ค้า แต่นักลงทุนต่างๆ ยังคงมองเวียดนามเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันนักลงทุนชาวเวียดนามเองก็เริ่มมองหาแหล่งลงทุนในต่างประเทศมาก ขึ้นด้วย ทำให้เวียดนามกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของไทย ทั้งในแง่การดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติและการแย่งชิงแหล่งลงทุนที่มี ศักยภาพในเวลาเดียวกัน

     
          รายงานเกี่ยวกับมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวเวียดนาม ระบุว่า ช่องว่างรายได้คนรวย-จนในเวียดนาม ยังคงขยายกว้าง สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) และธนาคารโลก ได้รายงานว่า ช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนในเวียดนามยังคงขยายกว้าง โดยประชาชนใน เมืองช่วงปี 2555 มีรายได้เฉลี่ย 3 ล้านด่งต่อเดือน (142 ล้านดอลลาร์) ขณะที่รายได้ต่อเดือนของประชาชนในชนบทอยู่ที่ 1.6 ล้านด่ง (76 ล้านดอลลาร์) กลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในประเทศมีรายได้เฉลี่ย 512,000 ด่งต่อเดือน (24 ดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 38.5% จากปี 2553 ขณะที่คนรวยมีรายได้เฉลี่ย 4.8 ล้านด่ง (227 ดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 40% จากปีก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารโลกเวียดนาม กล่าวว่า รายงานดังกล่าว ถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับธนาคารโลก และผู้กำหนดนโยบายของเวียดนาม และการศึกษาในลักษณะนี้ควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องต่อไป...

  

ปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม

  • อัตราเงินเฟ้อและการขาดดุลการค้า

          การเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคร้อยละ12.63 ในรอบปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้สร้างความกังวลอย่างมากแก่รัฐบาลเวียดนามธนาคารชาติของ เวียดนาม ได้ใช้นโยบายการเงินเพื่อดูดซับสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน โดยให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มสัดส่วนการกันเงินสำรอง และออกมาตรการต่างๆ รวมถึงการออกพันธบัตรให้อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้โดยในปี 2551 เป้าหมายการควบคุมอัตราเงินเฟ้อจะเป็นข้อจำกัดสำคัญสำหรับรัฐบาล เวียดนาม ในการใช้เครื่องมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนในการส่งเสริมการส่งออกเวียดนาม พยายามรักษาระดับค่าเงินด่องไม่ให้แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนการส่งออกโดยเชื่อว่าธนาคารชาติ เวียดนาม จะเผชิญแรงกดดันให้ต้องปล่อยให้ค่าเงินด่องเป็นไปตามทิศทางของตลาดมากขึ้น 

  •   การขาดแคลนแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญ 
     
          เวียดนาม มีประชากรที่อยู่ในวัยทำงานเป็นสัดส่วนที่สูงมาก แต่ยังไม่สามารถผลิตแรงงานมีทักษะเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่อรองรับกาขยายตัวทาง เศรษฐกิจได้ทัน โดยเฉพาะด้านการเงิน การธนาคาร การจัดการ และการบริการ ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีการขยายตัวสูงจากผลของการที่ เวียดนาม เข้าเป็นสมาชิก WTO  ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานและอัตราการย้ายงานเพิ่มขึ้นสูงมาก บรรดาประเทศพัฒนาแล้วพยายามผลักดันให้ เวียดนาม เปิดตลาดแรงงานมีทักษะโดยอ้างว่าเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนดังกล่าวและเพื่อ ถ่ายทอดความเชี่ยวชาญแก่แรงงาน เวียดนาม แต่รัฐบาล เวียดนาม ยังลังเลที่จะดำเนินการ

  • พลังงาน 
         
            การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงทำให้ความต้องการด้านพลังงานของ เวียดนาม ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดย เวียดนาม จะเป็นประเทศผู้นำเข้าถ่านหินใน 2-3 ปีข้างหน้าจากที่เป็นผู้ส่งออกถ่านหินในปัจจุบัน โดยความกังวลของทางการ เวียดนาม เกี่ยวกับความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นในอนาคตสะท้อนให้เห็นจากการที่รัฐบาล เวียดนาม ประกาศนโยบายไม่ส่งออกก๊าซธรรมชาติ ทางการ เวียดนาม ประเมินว่า ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่ง เวียดนาม ตั้งเป้าหมายว่าจะยกระดับเป็นประเทศอุตสาหกรรม เวียดนามจะมีความต้องการพลังงานไฟฟ้ารวม 26,000 เมกกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าที่สามารถผลิตได้ในปัจจุบันถึง 2 เท่า

  • โครงสร้างพื้นฐาน   โครงสร้างพื้นฐาน 
        
http://sameaf.mfa.go.th/upload/iblock/f7b/Indian-Infra-4522222.jpg
          เวียดนาม ยังต้องพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนา เศรษฐกิจอีกมาก ได้แก่ เส้นทางคมนาคม ทั้งถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ และการผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับโครงการเส้นทางคมนาคมที่มีลำดับความสำคัญสูง ได้แก่ โครงการทางด่วน 244 กม. ระหว่างกรุงฮานอยกับเมือง Lao Cai ติดชายแดนจีน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งจากมณฑลยูนนาน-ฮานอย-เมืองท่าไฮฟอง รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ภาคเหนือของ เวียดนาม ปฏิรูปองค์กรทางราชการที่มีความรับผิดชอบ โปร่งใส รวมถึงพัฒนาสถาบันและคุณภาพทางการศึกษา และการรักษาพยาบาล และหน่วยงานบริการสังคมอื่นๆ

  • การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ 
      
        รัฐบาล เวียดนาม พยายามที่จะดำเนินการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น เอื้ออำนวยต่อการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และสนับสนุนภาคเอกชน เวียดนาม ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยจะให้มีการลดขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ อำนวยความสะดวกขั้นตอนด้านภาษี และเร่งกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมตลาดทุนของ เวียดนาม อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวยังจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากระบบภาษีของ เวียดนาม มีความซับซ้อนยุ่งยาก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนก็มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทาง ภาษีในรายละเอียดมากเกินไปและขาดเป้าหมายที่ชัดเจน สำหรับกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมาก็ดำเนินไปได้น้อยมากเนื่องจาก ปัญหาการตีมูลค่าทรัพย์สินของรัฐ

  • การพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน
          
       

              ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจล้วนแสดงความเชื่อมั่นในอนาคตที่สดใสของเศรษฐกิจ เวียดนาม และเห็นว่า เวียดนาม จะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 8.5-9 ในปี 2551 ได้โดยไม่ยากนักการพัฒนาของประเทศ เวียดนาม เป็นที่น่าจับตามอง โดยในชั้นนี้อาจกล่าวได้ว่า เวียดนาม เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประเทศต่างๆ ที่กำลังพยายามลดปัญหาความยากจน





 

เวียดนามเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศที่กำลังพยายามพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรก็ตามการที่เวียดนามจะปรับสถานะขึ้นสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับกลางได้นั้น ทางรัฐบาลเวียดนามต้องพบกับความท้าทาย และต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น